วันศุกร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2556

การตัดต่อวิดีโอ


การตัดต่อวิดีโอ

          การตัดต่อคืออะไรการตัดต่อ คือ การเชื่อมระหว่างช็อต 2 ช็อตการตัดต่อหรือว่าการลําดับภาพเป็นขั้นตอนที่ 3 ในกระบวนการโปร ดักชั่นคือโพสต์โปรดักชั่น ซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้ายสําหรับการปรุงแต่งงาน ให้ชวนลิ้มรสต่อคนดูอย่าเข้าใจผิดว่าห้องตัดต่อเป็นที่สร้างเรื่อง เพราะ สตอรี่ คือการคิดมา ก่อนการเข้าห้องตัดการเป็นนักตัดต่อนั้นจะต้องมีความรู้ความเข้าใจใน 2 ส่วน คือในส่วน ของเครื่องตัด และในส่วนของความเข้าใจในการตัด

         ประเภทของการตัดต่อ ตัดต่อการกระทํา action editตัดต่อตําแหน่งจอ screen position editตัดต่อรูปแบบ form editตัดต่อที่มีเรื่องราว concept editตัดต่อแบบผนวก combined edit Type of Editing
        
          หลักการตัดต่อ  
 1.แรงจูงใจ Motivation ควรต้องมีเหตุผลในการผสม ภาพเสมอ2.ข้อมูล Information ภาพใหม่ควรมีข้อมูลใหม่เสมอ3.องค์ประกอบภาพ Composition ช็อต 2 ช็อตที่ผสม เข้าด้วยกัน ควรมีองค์ประกอบภาพที่เกยทับกันได้ง่าย และหลีกเลี่ยงภาพที่จะขัดกัน4.เสียง Sound เสียงของทั้ง 2 ช็อต ควรจะผสานเข้า ด้วยกัน5.มุมกล้อง Camera angle ช็อตที่ผสมกันควรมีมุม กล้องที่ต่างกัน6.เวลา Time การผสมภาพ ใช้เวลาอย่างน้อย 1วินาทีและมากสุด 3 วินาทีPrinciples of Editing

2.องค์ประกอบภาพในช็อต Shot Composition ผู้ตัดไม่สามารถกําหนด องค์ประกอบภาพในช็อตได้ แต่งานของผู้ ตัดคือควรให้มีองค์ประกอบภาพในช็อต ที่สมเหตุสมผลและเป็นที่ยอมรับปรากฏ อยู่ องค์ประกอบภาพในช็อตที่ไม่ดีมา จากการถ่ายทําที่แย่ ซึ่งทําให้การตัดต่อ ทําได้ลําบากมากขึ้น4.เสียง Sound เสียงคือส่วนสําคัญใน การตัดต่ออีกประการหนึ่ง เสียงรวดเร็ว และลึกลํ้ากว่าภาพ เสียงสามารถใส่มา ก่อนภาพหรือมาทีหลังภาพเพื่อสร้าง บรรยากาศ สร้างความกดดันอันรุนแรง และอีกหลากหลายอารมณ์ เสียงเป็นการ เตรียมให้ผู้ชมเตรียมพร้อมสําหรับการ เปลี่ยนฉาก สถานที่ หรือแม้แต่ ประวัติศาสตร์

 3.มุมกล้อง Camera Angle เมื่อผู้กํากับ ฯ ถ่ายทําฉาก จะทําโดยเริ่มจากตําแหน่ง ต่าง ๆ (มุมกล้อง) และจากตําแหน่งต่าง ๆ เหล่านี้ผู้กํากับฯ จะให้ถ่ายช็อตหลาย ๆ ช็อต คําว่า มุมถูกใช้เพื่ออธิบาย ตําแหน่งของกล้องเหล่านี้ซึ่งสัมพันธ์กับ วัตถุหรือบุคคล6.ความต่อเนื่อง Continuity ทุกครั้งที่ ถ่ายทําในมุมกล้องใหม่ (ในซีเควนส์ เดียวกัน) นักแสดงหรือคนนําเสนอ จะต้องแสดงการเคลื่อนไหวหรือทําท่า เหมือนเดิมทุกประการกับช็อตที่แล้ว วิธีการนี้ยังปรับใช้กับ take ที่แปลก ออกไปด้วย

4.ความต่อเนื่องของเนื้อหา Continuity of content ควรมีความต่อเนื่องของเนื้อหา เช่น นักแสดงยกหูโทรศัพท์ด้วยมือขวาในช็อตแรก ดังนั้นก็คาดเดาได้ว่าหูโทรศัพท์ยังคงอยู่ในมือ ขวาในช็อตต่อมา งานของคนตัดคือ ทําให้แน่ใจ ว่าความต่อเนื่องยังคงมีอยู่ทุกครั้งที่ทําการตัด ต่อในซีเควนส์ของช็อตความต่อเนื่องของการเคลื่อนไหว Continuity of movementความต่อเนื่องยังเกี่ยวข้องกับทิศ ทางการเคลื่อนไหว หากนักแสดงหรือบุคคล เคลื่อนที่จากขวาไปซ้ายในช็อตแรก ช็อตต่อมา ก็คาดเดาว่านักแสดงหรือบุคคลจะเคลื่อนไหว ไปในทิศทางเดียวกัน เว้นแต่ในช็อตจะให้เห็น การเปลี่ยนทิศทางจริง ๆ

           ลักษณะการทํางานของวีดีโอ กล้องวีดีโอเป็นการนําเอาหลักการของแสงนําหลักการ แสงตกกระทบกับวัตถุแล้วสะท้อนสู่เลนส์ใน ดวงตาของมนุษย์ทําให้เกิดการมองเห็นมาใช้ในการสร้างภาพร่วมกับวงจรอิเล็กทรอนิกส์ โดยภาพที่ได้จะถูก บันทึกเป็นสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ หรือที่เรียกว่า สัญญาณอนาลอกประกอบด้วยข้อมูลสี 3 ชนิด คือ แดง เขียว นํ้าเงิน (Red, Green, Blue : สีRGB) และสัญญาณสําหรับเชื่อมความสัมพันธ์ของข้อมูล(Synchronization Plus : สัญญาณ SYNC) สัญญาณวีดีโอจะถูกส่งไปบันทึกยังตลับวีดีโอ (Video Cassette Recorder : VCR) โดยการแปลงสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์เป็นสัญญาณดิจิตอลและบันทึกลงบนอุปกรณ์บันทึก ข้อมูลด้วยหลักการของสนามแม่เหล็ก การบันทึกจะต้องบันทึกผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่า หัวเทปวีดีโอที่ สามารถบันทึกได้ทั้งภาพ เสียง และข้อมูลควบคุมการแสดงภาพ นอกจากบันทึกเป็นม้วนเทปวีดีโอแล้วยัง สามารถบันทึกในรูปของสัญญาณวิทยุได้อีกด้วย โดยอาศัย NTSC, PAL หรือ SECAM เพื่อช่วยในการส่ง สัญญาณให้สามารถแพร่ภาพทางโทรทัศน์ได้      

วันเสาร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ประวัติส่วนตัว


ประวัติส่วนตัว

ชื่อ: ด.ญ.จณิสตา อินทชาติ ม.1/6 เลขที่ 22

ชื่อเล่น: ดีม

เกิด: วัน ศุกร์ ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ.2543

อายุ: 13 ปี
กำลังศึกษา:โรงเรียนสุราษฎร์พิทยา

สีที่ชอบ: สีชมพู สีเขียวอ่อน

หนังสือเล่มโปรด: ติ๋งหนืด

ดารานักร้องที่ชอบ: บี้สุกฤษฎิ์  วิเศษแก้ว

ดาราที่ชอบ: ฌอห์ณ จินดาโชติ

Fb:deem chanissata

Line:chanissata

IG:chanissata

อาหารฝรั่งเศษ


อาหารฝรั่งเศษ

อาหารนาๆชาติ ได้แก่ อาหารต่างประเทศที่รับประทานกัน ไม่ว่าจะเป็น แฮมเบอร์เกอร์

แซนวิชส์ เฟรนฟรายด์ พิซซ่า ไก่ทอด ซูชิ หมูหยอง มากมายหลากหลายต่างประเทศ

 

เมดิเตอเรเนียนคีช
คีช ( quiche) เป็นอาหารจานอบชนิดหนึ่งโดยมีส่วนประกอบหลักคือ ไข่ นม หรือ ครีม ถึงแม้ว่าคีชจะมีลักษณะคล้ายพายแต่คีชถูกจัดเป็นอาหารคาว โดยในคีชอาจมีส่วนประกอบอื่นเช่น เนื้อสัตว์ ผัก เนยแข็ง ได้
ถึงแม้ว่าคีชจะมีส่วนประกอบหลายอย่างคล้ายอาหารประเภทพาสตา แต่ไม่ถูกจัดว่าเป็นส่วนหนึ่งของพาสตา




บาเกต
ขนมปังฝรั่งเศส
บาเกต ( baguette) หรือ ขนมปังฝรั่งเศส เป็นขนมปังมีลักษณะรูปทรงเป็นแท่งยาวขนาดใหญ่ เปลือกนอกแข็งกรอบ เนื้อในนุ่มเหนียว และเป็นโพรงอากาศ มักนำมาหั่นเฉียงเป็นแผ่นหนา เพื่อรับประทานกับซุป ปาดเนยสด หรือประกอบทำเป็นแซนด์วิช
 
ฟัวกรา
 ฟัวกรา เสิร์ฟแบบปิกนิกพร้อมขนมปัง
ฟัวกรา ( Foie gras ) แปลเทียบเคียงว่า fat liver คือตับห่านหรือเป็ดที่ถูกเลี้ยงให้อ้วนเกิน ฟัวกราได้ชื่อว่าเป็นอาหารฝรั่งเศสที่ดีที่สุด เช่นเดียวกับทรัฟเฟิล มีลักษณะนุ่มมันและมีรสชาติที่แตกต่างจากตับของเป็ดหรือห่านธรรมดา
ใน พ.ศ. 2548 ทั่วโลกมีการผลิตฟัวกราประมาณ 23,500 ตัน ในจำนวนนี้ ประเทศฝรั่งเศสเป็นผู้ผลิตมากที่สุดคือ 18,450 ตัน หรือร้อยละ 75 ของทั้งหมด โดยร้อยละ 96 ของฟัวกราจากฝรั่งเศสมาจากตับเป็ด และร้อยละ 4 มาจากตับห่าน ประเทศฝรั่งเศสบริโภคฟัวกราใน พ.ศ. 2548 เป็นจำนวน 19,000 ตัน
ประเทศฮังการีผลิตฟัวกรามากเป็นอันดับสอง และส่งออกมากเป็นอันดับหนึ่ง คือ 1,920 ตันใน พ.ศ. 2548 โดยเกือบทั้งหมดส่งออกไปที่ฝรั่งเศส
 
 
 
ราทาทุย
ชามที่มีราทาทุยและขนมปังเคียงข้าง
ราทาทุย ( Ratatouille ) เป็นอาหารพื้นเมืองของฝรั่งเศส ในเขต Provençal โดยมีลักษณะเป็นสตูว์ผัก มีต้นกำเนิดมาจากเมือง Nice ทานตอนใต้ของฝรั่งเศส อาหารชนิดนี้มีชื่อเต็มว่า ratatouille niçoise
รูปแบบของอาหาร
คำว่า ratatouille มาจากภาษาอ็อกซิตันว่า "ratatolha" ราทาทุยปัจจุบันพบเห็นได้ที่ Occitan Provença และ Niça โดยมักจะทำในหน้าร้อนโดยใช้ผักในฤดูร้อน Ratatolha de Niça สูตรดั้งเดิมนั้นจะใช้เพียงแค่ ซุชีนี่, มะเขือเทศ, พริกหยวกแดงและเขียว, หัวหอม, และกระเทียม ราทาทุยในปัจจุบันจะมีการใส่มะเขือลงไปในส่วนผสมด้วย
ปกติราทาทุยจะเสิร์ฟเป็นอาหารข้างเคียงกับอาหารหลัก หรือบางครั้งก็เสิร์ฟเป็นอาหารหลักบนโต๊ะอาหาร



 
 
อาหารฝรั่งเศษ

วันศุกร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2556

อาหารไทย...ในแต่ละภาค


อาหารไทย

อาหารไทยเป็นวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมานาน แต่แม้จะมีเอกลักษณ์และความโดดเด่นจากส่วนผสมจากสมุน ไพรแต่อาหารในแต่ละภูมิภาคก็มีความแตกต่างกัน ซึ่งมีรสชาติและคุณประโยชน์ต่อร่างกายอย่างยิ่ง

อาหารไทย มี 4 ภาค ได้แก่ 1.ภาคเหนือ 2.ภาคอีสาน 3.ภาคใต้ 4.ภาคกลาง


อาหารไทยภาคเหนือ



อาหารดั้งเดิมของภาคเหนือ มีข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก นิยมใช้พืชตามป่าเขาที่ขึ้นเองตามธรรมชาติมาปรุงอาหาร เนื้อสัตว์ได้จากท้องทุ่งและลำน้ำ อาทิเช่น กบ เขียด อึ่งอ่าง ปู ปลา หอย ไก่ หมู และเนื้อ คนเหนือไม่นิยมใช้น้ำตาล แต่จะใช้ความหวานจากส่วนผสมที่ใช้ทำอาหาร เช่น ความหวานจากผัก ปลา หรือมะเขือส้ม
กรรมวิธีการปรุงอาหาร มักจะปรุงให้สุกมากๆ อาหารประเภทผัด หรือต้ม จะปรุงจนกระทั่งผักมีความนุ่ม และมีเครื่องปรุงรสเฉพาะของภูมิภาค เช่น น้ำปู๋ ซึ่งได้จากการเอาปูนาตัวเล็กๆ เอามาโขลก แล้วนำไปเคี่ยว กรองเอาแต่น้ำ ใส่ข่า ตะไคร้ เคี่ยวต่อจนข้น ถั่วเน่าแผ่น ถั่วเหลืองต้มหมักกับเกลือจนนุ่ม นำไปโม่แล้วละเลงเป็นแผ่น ตากแดดให้แห้ง ใช้แทนกะปิ ผักและเครื่องเทศที่ใช้เป็นผักเฉพาะถิ่น
ภาคเหนือมีเครื่องเทศของเขา ส่วนใหญ่จะไม่ใช้กะปิเขาจะใช้เป็นถั่วเน่าแทน…จะมีอาหารเฉพาะหลายอย่าง เช่น ข้าวซอย น้ำพริกหนุ่ม แคบหมู เป็นลักษณะเด่นของอาหารทางภาคเหนือ แต่เขาก็ยังจะมีพวกปิ้งย่างอย่างพวกหมูเขาก็จะหมักแล้วห่อใบตองปิ้งย่าง

ข้าวซอย





อาหารไทยภาคอีสาน

อาหารอีสาน เป็นอาหารที่เรียบง่ายเช่นเดียวกับวิถีการดำเนินชีวิตของชาวอีสาน ในแต่ละมื้อจะมีอาหารปรุงง่ายๆ 2-3 จาน มีผักเป็นส่วนประกอบหลัก เนื้อสัตว์ส่วนใหญ่เป็นปลา หรือเนื้อวัวเนื้อควาย อาหารพื้นบ้านอีสานส่วนใหญ่มีรสชาติออกไปทางเผ็ด เค็ม และเปรี้ยว เครื่องปรุงสำคัญที่แทบจะขาดไม่ได้เลย คือ ปลาร้า ชาวอีสานเรียก "ปลาแดก" เป็นส่วนประกอบหลักของอาหารทุกประเภท อาหารจะมีลักษณะแห้ง ข้น หรือมีน้ำขลุกขลิก ไม่นิยมใส่กะทิ รสชาติอาหารจะเข้มข้นเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด
รสชาติทางอีสานออกไปทางรสค่อนข้างจัด วัตถุดิบก็จะต่างกันมีการเอาข้าวไปคั่วให้หอมมาผสมเป็นน้ำตกหรือทำลาบ

เขาจะใช้ปลาร้าเข้ามามีส่วนร่วมในการปรุงอาหาร ปลาร้ามีรสเค็มและมีกลิ่นหอมเฉพาะ บางทีคนอีสานทำอาหารแต่ขาดปลาร้า อาหารก็จะไม่ใช่ลักษณะของเขา อย่างส้มตำก็ต้องเป็นส้มตำปลาร้า ภาคอีสานบางทีก็คล้ายๆ กับภาคเหนือ สมมติถ้าเขามีปลาก็จะต้มใส่ใบมะขามใส่ตะไคร้

ชาวอีสานนิยมกินข้าวเหนียวเป็นหลัก และมีน้ำปลาร้าปรุงในอาหารแทบทุกชนิด มีศัพท์การปรุงหลายรูปแบบ เช่น ลาบ ก้อย หมก อ่อม แจ่ว จุ๊ ต้มส้ม ซุป เป็นต้น
 


 

 

 
 

อาหารไทยภาคใต้

อาหารหลักของคนภาคใต้คือ อาหารทะเล และกลิ่นคาวโดยธรรมชาติของปลา หรืออาหารทะเลอื่นๆ ทำให้อาหารของภาคใต้ต้องใช้เครื่องเทศโดยเฉพาะ เช่น ขมิ้น เป็นสิ่งที่แทบจะขาดไม่ได้เพราะช่วยในการดับกลิ่นคาว อาหารภาคใต้จึงมักมีสีออกเหลือง เช่น แกงไตปลา แกงส้ม แกงพริก ปลาทอด ไก่ทอด ซึ่งมีขมิ้นเป็นส่วนผสมทั้งสิ้น และมองในอีกด้านหนึ่ง อาหารส่วนใหญ่มีรสชาติเผ็ดจัด และนิยมใส่เครื่องเทศมาก

อาหารส่วนใหญ่เป็นพวก กุ้ง หอย ปู ปลา จะเน้นเครื่องเทศเป็นสำคัญ อาหารภาคใต้จะไม่เน้นรสหวานจะเป็นรสจัด เค็มจัด เผ็ดจัด เปรี้ยวจัด และเน้นใส่ขมิ้นในอาหารทุกชนิด เครื่องปรุงของเขาเน้นกะปิ ส่วนที่ปรุงรสเปรี้ยวจะไม่ค่อยใช้มะนาว จะใช้เครื่องเทศของเขา


 

 



อาหารไทยภาคกลาง
ภาคกลางเป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์ มีพืชผักผลไม้นานาชนิด อาหารของภาคกลางมีที่มาทั้งจากอิทธิพลจากต่างประเทศ เช่น เครื่องแกง แกงกะทิ จากชาวฮินดู การผัดโดยใช้กระทะและน้ำมันจากประเทศจีน เป็นอาหารมีการประดิษฐ์ผู้อยู่ในรั้วในวังได้คิดสร้างสรรค์อาหารให้มีความวิจิตรบรรจง อาหารภาคกลางมักจะมีเครื่องเคียงของแนม เช่น น้ำพริกลงเรือ แนมด้วยหมูหวาน แกงกะทิแนมด้วยปลาเค็ม กุ้งนึ่งหรือปลาดุกย่าง กินกับสะเดาน้ำปลาหวาน
รสชาติของอาหารไม่เน้นรสใดรสหนึ่งโดยเฉพาะ จะมีรส เค็ม เผ็ด เปรี้ยว หวาน เคล้ากันไปตามชนิดของอาหาร นิยมใช้เครื่องเทศแต่งกลิ่นรส และใช้กะทิเป็นส่วนประกอบของอาหาร

 ยังมี "อาหารชาววัง" ที่มีต้นกำเนิดจากอาหารในราชสำนัก ที่เน้นตกแต่งประณีตและปรุงให้ได้ครบรส ได้แก่ เปรี้ยว หวาน เค็ม เผ็ด นิยมประดิษฐ์อาหารให้สวยงามเลียนแบบรูปทรงต่างๆ ในธรรมชาติ



 

 

 

 

 

 

 

 โรงเรียนสุราษฎร์พิทยา